เชื้อราในโพรงไซนัส
มาลี เจ้าของร้านขายของแห่งหนึ่ง เธอมีกิจวัตรประจำวันที่โปรดปรานคือการพูดคุยกับเพื่อนบ้านเละรับประทานขนมของโปรดอยู่ตลอดเวลา วันหนึ่ง ในขณะที่เธอกำลังนั่งพูดคุยกับเพื่อนบ้านอยู่นั้น เธอเริ่มรู้สึกว่ามีน้ำมูกสีเขียวข้นไหลออกมาจากจมูกข้างขวาเพียงข้าเดียว แต่มาลีก็ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่ โดยหารู้ไม่ว่าอาการที่เกิดขึ้นกับเธอนั้นเป็นสัญญาณเตือนแรกของโรคร้าย
3 วันต่อมา ได้เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับเธออีกครั้ง เมื่อรู้สึกว่าตัวเองอาการไม่ค่อยดีเธอก็ไม่มีอารมณ์ดูแลร้านเหมือน
แต่ก่อน จึงไม่ค่อยได้ทำความสะอาดร้านอย่างที่เคย แต่สิ่งที่ทำเป็นประจำ เช่น การรับประทานขนมปัง เธอยังคงปฏิบัติเป็นปกติ ดังนั้น เมื่อลูกค้าออกจากร้านไป เธอก็หยิบขนมที่เธอโปรดปรานขึ้นมาทานเหมือนทุกวัน แต่ทันใดนั้นเธอรู้สึกเจ็บแก้มด้านขวาขึ้นมาอย่างกะทันหัน และเมื่อลองส่องดูในกระจกก็ไม่พบร่องรอยที่ผิดปกติใด ๆ เธอจึงไม่ได้ใส่ใจอะไรอีกและปล่อยเอาไว้เช่นนั้น
เพียงไม่นาน เธอเริ่มรู้สึกมีอาการเจ็บที่ตาข้างขวา ลักษณะเหมือนมีอะไรอยู่ข้างในตา
เมื่อสังเกตูตาและบริเวณรอบ ๆ ก็ไม่มีอาการบวมแต่อย่างใด เธอจึงใช้ยาหยอดตาที่มีอยู่หยอดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ โดยยังไม่ทันคิดที่จะไปโรงพยาบาล ระยะเวลา 2 วันหลังจากอาการเจ็บที่ตา เช้าวันหนึ่งอาการร้ายแรงที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ตาของเธอเกิดอาการบวมแดงอย่างรุนแรง เปลือกตาของเธอไม่สามารถเปิดขึ้นได้ ที่สุด…ความโชคร้ายมาเยือน เมื่อตาข้างขวาของเธอต้องสูญเสียการมองเห็น
ทำไมเธอจึงต้องประสบกับความโชคร้ายที่รุนแรงขนาดนี้ ต้นเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดคืออะไร หรืเพียงเพราะอาการหวัดคัดจมูกที่เกิดขึ้นกับเธอในตอนแรก…กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว
กลุ่มเสี่ยง
ว่าไปแล้วเกือบทุกคนคงได้รับเชื้อรานี้ แต่มีใครเสี่ยงบ้างที่เป็นโรคนี้
ทุกคนที่ได้รับเชื้อราจะแสดงออกไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน (สามารถก่อโรคได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานในแต่ละคน)
อาการที่พึงระวัง
การเฝ้าระวังโรคสามารถทำได้ 2 ส่วน คือ เฝ้าระวังเชื้อในที่ทำงาน บ้าน หรือที่อยู่อาศัย หากพบเห็นต้องกำจัดทันที เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
เฝ้าระวังสุขภาพร่างกายของตนเอง ต้องสังเกตว่าตนเองมีน้ำมูกหรือไม่ และน้ำมูกที่ไหลออกมานั้นมาจากจมูกข้างเดียวบ้างหรือไม่ ซึ่งอาการที่เกิดจากการรับเชื้อจะเริ่มจากอาการคัดจมูก และอาการปวดบริเวณแก้ม จนถึงอาการร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อราเข้าไปสะสมอยู่ในโพรงจมูก
***เชื้อราเข้าไปในจมูกด้านขวา เข้าไปสะสมในโพรงจมูกเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ***
***แสดงอาการเจริญเติบโตของเชื้อรา***
ลักษณะของโรค
ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่รอบ ๆ จมูก ปกติมีอยู่ 4 คู่ คือ ไซนัสที่บริเวณหน้าผาก หัวตา ข้างแก้ม และฐานกะโหลก ไซนัสเป็นทุกอันที่มีรูติดต่อกับจมูก โดยมีหน้าที่ทำให้กะโหลกเราเบาพูดแล้วมีเสียงก้องอยู่ในจมูก สร้างเยื่อเมือกเพื่อขับออกทางจมูก ช่วยผลักดันฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคให้ไหลลงไปในคอเพื่อเป็นเสมหะ ทำความอบอุ่นให้กับอากาศที่ไหลเข้าไปในจมูก
ไซนัสอักเสบต่างจากหวัด อย่างไร
ไข้หวัดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจจะมีไข้ น้ำมูกไหล ปวดหัว เจ็บคอ หรือไอร่วมด้วย มักเป็นแล้วหายภายใน 7 วันส่วนไซนัสอักเสบมักเริ่มต้นจากการเป็นหวัดก่อน แต่จะคิดถึงไซนัสอักเสบก็ต่อเมื่อ
-เป็นหวัดมานาน 7-10 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น คัดจมูกมากขึ้น มีเสมหะไหลลงคอ จมูกไม่ได้กลิ่น และ/หรือ
-ปวดแก้ม ปวดหน้าผาก ปวดหัว และ/หรือ
-ไอมากขึ้น
นอกจากนี้ อาการไซนัสอักเสบเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น ฟันกรามแถวบนอักเสบ สิ่งแปลกปลอมอุดในจมูก เนื้องอกในจมูก
อาการคัดจมูก มีผลข้างเคียงเป็นโรคอะไรได้บ้าง
-ไซนัสอักเสบจากฟันบนด้านนั้นผุ
-ริดสีดวงจมูก
-สิ่งแปลกปลอมในจมูก
-เชื้อรา
-เนื้องอกหรือมะเร็ง
-ดั้งจมูกคด
อาการพึงระวัง
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเชื้อราในโพรงไซนัส จะจึกถึงไซนัสอักเสบจากเชื้อราเมื่อใด
-อาการเป็นข้างเดียว น้ำมูกมีกลิ่น เหม็น มีก้อนดำ ๆ เขียว ๆ หลุดออกมาปนกับน้ำมูก บางทีมีน้ำมูกปนเลือด และ/หรือรักษาด้วยการกินยาเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้นและ/หรือคนไข้มีไซนัสอักเสบเรื้อรัง และมีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เบาหวาน หรือฉายแสงอยู่ หรือได้เคมีบำบัดรักษาโรคอื่นอยู่ หรือได้ยาลดภูมิคุ้มกัน (เช่นในคนไข้เปลี่ยนถ่ายไขกระดูก)
-ไซนัสอักเสบเรื้อรัง และอยู่ในที่อับชื้นเป็นประจำ
เชื้อรามาจากไหน
เชื้อรา Aspercillus พบได้ทุกแห่ง เช่น
-ในดิน ในน้ำ ในอากาศ
-สารอินทรีย์ที่กำลังย่อยสลาย เช่น ขนมปังเก่า ๆ
-ที่ชื้นแฉะ กระถางต้นไม้
***เมื่อมีการแพร่กระจายของเชื้อราที่บริเวณโพรงจมูกขึ้น เชื้อราเจริญเติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผลกระทบไปจนถึงบริเวณประสาทตาได้***
รู้ไว้ ไกลโรค
เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้โดย
1. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2. กำจัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อรา เช่น กำจัดที่อับชื้น น้ำขัง
3. ตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่องป้องกันปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน
4. เป็นหวัดควรรีบรักษา อย่าปล่อยเรื้อรัง
แพทย์ผู้ให้ข้อมูล:นพ.ทวีชัย พิตรปรีชา แพทย์ประจำคลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลพญาไท 2